วันเสาร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

คำประสม

คำประสม



                คำประสม คือ คำที่สร้างจากคำมูลตั้งแต่สองคำขึ้นไป เกิด  เป็นคำใหม่ มีความหมายใหม่ แต่ยังมีเค้าของความหมายเดิม ส่วนมากมักเป็นการประสมคำระหว่างคำไทยกับคำไทยแต่อาจมีคำประสมบางคำที่ประสมระหว่างคำไทยกับคำภาษาอื่น

ชนิดของคำประสม

๑.  คำประสมที่เกิดความหมายใหม่มีเค้าความหมายเดิม  เช่น
  เตา + ถ่าน   เตาถ่าน    หมายถึง   เตาที่ใช้เป็นเชื้อเพลิง
  เตา + รีด     เตารีด     หมายถึง   เตาที่ใช้รีดเสื้อผ้า
  รถ + ไฟ     รถไฟ      หมายถึง  รถที่ใช้ไฟเป็นพลังงานขับเคลื่อน
๒. คำประสมที่เกิดความหมายใหม่เปลี่ยนไปจากเดิม
  ขาย + หน้า   ขายหน้า   หมายถึง   รู้สึกอับอาย
  ราด + หน้า   ราดหน้า   หมายถึง   อาหารประเภทก๋วยเตี๋ยวมีน้ำปรุง
  หัก + ใจ      หักใจ      หมายถึง   ตัดใจไม่ให้คิดถึงเหตุการณ์ต่างๆ
๓. คำประสมที่เกิดจากการย่อคำให้กะทัดรัดขึ้น  มักขึ้นต้นด้วย 
  การ  ความ  ของ เครื่อง  ชาว  นัก  ผู้  ช่าง  เช่น
  การค้า  ความคิด  ของหวาน  เครื่องเรือน  ชาวสวน  นักเรียน    ผู้ชาย  ช่างภาพ


ตัวอย่างคำประสม
         กินเมือง   ใจเสีย   แม่ยาย  น้ำแข็งไส   ขีดเส้นตาย 
         หน้าอ่อน   เบาใจ   หัวสูง   ตีนผี   หมาวัด

        ผ้าขี้ริ้ว   หักใจ   เตาถ่าน   ราดหน้า

                          ใบกิจกรรม เรื่อง คำประสม

คำชี้แจง  ให้นักเรียนพิจารณาคำต่อไปนี้ว่าประกอบขึ้นจากคำชนิดใด มีความหมายว่าอย่างไร และเมื่อเป็นคำประสมแล้วเป็นคำชนิดใด มีความหมายว่าอย่างไร

ตัวอย่าง     
              ตั้งใจ      ตั้ง    เป็นคำ  กริยา   มีความหมายว่า   กำหนด ดำรง
                            ใจ    เป็นคำ   นาม    มีความหมายว่า    สิ่งที่ทำหน้าที่รู้  รู้สึก   นึกและคิด
                            ตั้งใจ  เป็นคำ กริยา   มีความหมายว่า เอาใจจดจ่อ
                                          ๑.   ฝีมือ            ๒. เข้าใจ        
   


       ๑. ฝีมือ                   ฝี..................................................................................................................................................
         มือ ..............................................................................................................................................
         ฝีมือ.............................................................................................................................................
     ๒. เข้าใจ          
         เข้า ...............................................................................................................................................
             ใจ .................................................................................................................................................
             เข้าใจ ...........................................................................................................................................







๓. ลอง       

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น